วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

โครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)




FAQ เป็นการรวบรวมข้อซักถามจากประชาชนเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ รฟม. ท่านสามารถศึกษารายละเอียดข้อมูลได้ตามลิงค์ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ด้านล่าง


         1. ขั้นตอนการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ของ รฟม.


วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

ขั้นตอนการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน

แผนภูมิการดำเนินงานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540


แผนภูมิการดำเนินงานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530







วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ


เว็บไซต์โครงการ : http://www.mrta-greenline.net/

คำถามที่พบบ่อย

Q : โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เริ่มต้นและสิ้นสุดเส้นทางที่ไหน


A : 

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ : มีโครงสร้างรถไฟฟ้าแบบยกระดับตลอดเส้นทาง ระยะทาง 13 กิโลเมตร เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail Transit System) แนวเส้นทางเริ่มต้นต่อเนื่องจากแนวเส้นทางของโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครที่สถานีแบริ่งวิ่งไปตามแนวเกาะกลางของถนนสุขุมวิท ผ่านคลองสำโรง ผ่านแยกเทพารักษ์ แยกปู่เจ้าสมิงพราย เมื่อถึงบริเวณจุดตัดกับโครงการถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้แนวจะเบี่ยงจากเกาะกลางไปทางด้านทิศตะวันตกของถนนสุขุมวิทเพื่อข้ามทางต่างระดับสุขุมวิท จากนั้นจึงเบี่ยงกลับมาอยู่ในแนวเกาะกลางถนนสุขุมวิทผ่านแยกศาลากลาง แยกการไฟฟ้า แยกแพรกษา แยกสายลวด จนถึงจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณหน้าสถานีไฟฟ้าย่อยบางปิ้งโดยแนวเส้นทางจะเบี่ยงออกทางด้านทิศตะวันตก และลดระดับเพื่อเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง มีสถานียกระดับ 9 สถานี

Q : จะเริ่มก่อสร้างและเปิดให้บริการเมื่อไร
A : เริ่มก่อสร้างโครงการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 โดยมีบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา และคาดว่าสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณช่วงปี 2563 

Q : โครงการนี้มีที่จอดรถหรือไม่
A : รฟม. ได้จัดให้มีอาคารจอดแล้วจร 1 แห่งบริเวณสถานีเคหะสมุทรปราการ ริมถนนสุขุมวิท เนื้อที่ 18 ไร่ สามารถจอดรถรวมได้ทั้งหมดประมาณ 1,200 คัน




Q : ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า (Depot) ตั้งอยู่ที่ไหน
A : ตั้งอยู่บริเวณจุดสิ้นสุดโครงการ หลังสถานีไฟฟ้าย่อยบางปิ้ง บนเนื้อที่ 123 ไร่ ประกอบด้วยอาคารบริหาร ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการเดินรถ อาคารซ่อมบำรุงหลัก อาคารจอดรถไฟฟ้า รางทดสอบ และอาคารประกอบอื่นๆ





Q : สถานีรถไฟฟ้ามีกี่แห่ง และอยู่บริเวณใดบ้าง 
A :  มี 9 สถานี ดังนี้
1. สถานีสำโรง ตั้งอยู่ระหว่างสะพานข้ามคลองสำโรงกับแยกเทพารักษ์


2. สถานีปู่เจ้าสมิงพราย ตั้งอยู่ซอยสุขุมวิท 115



3. สถานีเอราวัณ ตั้งอยู่บริเวณถนนสุขุมวิท ซอย 7


4. สถานีโรงเรียนนายเรือ ตั้งหน้าโรงเรียนนายเรือ


5. สถานีสมุทรปราการ ตั้งอยู่หน้าวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ


6. สถานีศรีนครินทร์ ตั้งอยู่บริเวณสะพานข้ามคลองบางปิ้ง


7. สถานีแพรกษา ตั้งอยู่หน้าโรงเรียนสมุทรปราการ


8.สถานีลายลวด ตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 45


9. สถานีเคหะสมุทรปราการ ตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 50 



วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง

เว็บไซต์โครงการ : http://www.mrta-yellowline.com/
วีดิทัศน์โครงการ : 

คำถามที่พบบ่อย

Q : โครงการเริ่มก่อสร้างเมื่อใด ?
A : เริ่มก่อสร้าง พ.ศ. 2560

Q : แนวเส้นทางเริ่มต้นและสิ้นสุดที่ใด
A : เริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล ที่แยกรัชดา – ลาดพร้าว ไปตามแนวถนนลาดพร้าวจนถึงทางแยกบางกะปิ จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวไปทางทิศใต้ตามถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ที่ทางแยกลำสาลี ผ่านแยกพัฒนาการ แยกศรีนุช แยกศรีอุดมสุข แยกศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวไปทางทิศตะวันตกตามแนวถนนเทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง และสิ้นสุดเส้นทางบริเวณแนวถนนปู่เจ้าสมิงพราย

Q : ระยะทาง และ จำนวนสถานี ?
A : ระยะทางรวม 30.4 กิโลเมตร และมีสถานีจำนวน 23 สถานี

Q : โครงสร้างใต้ดิน หรือ ยกระดับ ?
A : โครงสร้างยกระดับ และเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ที่มีสมรรถนะสูง
สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ 10,00040,000 คน/ชม./ทิศทาง ด้วยความเร็ว 80 กม./ชั่วโมง
ตัวรถมีน้ำหนักเบาและใช้ล้อยาง ทำให้ลดผลกระทบทางด้านเสียงและความสั่นสะเทือน
โครงสร้างทางวิ่งโปร่ง ทำให้ลดผลกระทบเรื่องแสงและทัศนียภาพ รวมทั้งใช้พื้นที่ก่อสร้างน้อย
สามารถเลี้ยวด้วยรัศมีโค้งราบน้อยที่สุด 70 เมตร (Sharp Curve) ไต่ทางลาดชั่นได้สูงถึง 6 เปอร์เซ็นต์ (Steep Grade) ทำให้แนวเส้นทางมีความยืดหยุ่นและลดผลกระทบการเวนคืนที่ดิน



Q : โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีสถานีอะไรบ้าง ?
A :    1. สถานีรัชดา หน้าอาคารจอดแล้วจร บนถนนรัชดาภิเษก 
            เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้า MRT)

         
2. สถานีภาวนา ปากซอยภาวนา (ลาดพร้าว 41)


         3. สถานีโชคชัย 4 หน้าศูนย์การค้าโชคชัย 4 (ลาดพร้าว 53)



        4. สถานีลาดพร้าว 71 บริเวณซอยลาดพร้าว 71




        5. สถานีลาดพร้าว 83 บริเวณซอยลาดพร้าว 83 ใกล้ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ลาดพร้าว




        6. สถานีมหาดไทย บริเวณซอยลาดพร้าว 122 ใกล้โรงพยาบาลลาดพร้าว




        7. 
สถานีลาดพร้าว 101 บริเวณหน้าปากซอยลาดพร้าว 101 ใกล้ตลาดสดลาดพร้าว



        8. 
สถานีบางกะปิ หน้าห้างแมคโคร ใกล้กับเดอะมอลล์ บางกะปื



        9. 
สถานีลำสาลี แยกลำสาลี (ด้านทิศใต้)
            เชื่อมต่อกับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน - มีนบุรี



        10. 
สถานีศรีกรีฑา แยกศรีกรีฑา (ด้านทิศใต้) บริเวณจุดที่จะก่อสร้างทางแยกต่างระดับ



        11. 
สถานีพัฒนาการ ระหว่างจุดตัดทางรถไฟและจุดตัดถนนพัฒนาการ
              เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์




        12. 
สถานีกลันตัน หน้าธัญญะ ช็อปปิ้ง พาร์ค และบ้านกลางเมืองศรีนครินทร์



        13. 
สถานีศรีนุช ด้านทิศใต้ของ แยกศรีนุช



        14. 
สถานีศรีนครินทร์ 38 บริเวณปากซอยศรีนครินทร์ 38 (ใกล้ธนาคารกรุงไทย)



        15. 
สถานีสวนหลวง ร.9 ระหว่างห้างซีคอนสแควร์ และห้างพาราไดซ์ พาร์ค



        16. 
สถานีศรีอุดม แยกศรีอุดม (ด้านทิศใต้)



        17. 
สถานีศรีเอี่ยม บริเวณทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม
              เชื่อมต่อกับ อาคารจอดแล้วจร และ ศูนย์ซ่อมบำรุง




อาคารจอดแล้วจร และศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณสถานีศรีเอี่ยม


        18. 
สถานีศรีลาซาล แยกศรีลาซาล (ด้านทิศใต้) 



        19. 
สถานีศรีแบริ่ง แยกศรีแบริ่ง (ด้านทิศใต้)



        20. 
สถานีศรีด่าน ใกล้กับแยกศรีด่าน (ด้านทิศเหนือ)



        21. 
สถานีศรีเทพา ใกลักับแยกศรีเทพา (ด้านทิศตะวันตก)



        22. 
สถานีทิพวัล ปากซอยหมู่บ้านทิพวัล



        23. 
สถานีสำโรง ใกล้ตลาดสดเทพารักษ์
              เชื่อมต่อกับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ




 Q : สามารถหาเอกสารการทำประชาพิจารณ์ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ ได้จากไหน

 A : ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ดังกล่าว เว็บไซต์โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ
       หรือ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเอกสารรายงานสรุปผลการรับฟังความเห็นการมีส่วนร่วม ของประชาชน โครงการรถไฟฟ้าสีเหลืองฯ ลิงค์




โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี











เว็บไซต์โครงการ : http://www.mrta-orangeline.net/

คำถามที่พบบ่อย

Q : โครงการเริ่มก่อสร้างเมื่อใด ?
A : แบ่งเป็น 2 ช่วง 1. ช่วงตลิ่งชัน - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เริ่มก่อสร้างปี 2560
                              2. ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี 

Q : โครงสร้างทางวิ่ง , ระยะทาง และ จำนวนสถานี ?

A : โครงการรถไฟฟ้าสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน – มีนบุรี มีระยะทางประมาณ 39.8 กิโลเมตร

         โครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน ระยะทางประมาณ 30.6 กิโลเมตร มี สถานีใต้ดิน จำนวน 23 สถานี

         โครงสร้างทางวิ่งยกระดับ ระยะทางประมาณ 9.2 กิโลเมตร มี สถานียกระดับ จำนวน 7 สถานี


Q : ระบบรถไฟฟ้า ?
A : ระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail Transit System) สามารถขนส่งผู้โดยสารประมาณ 50,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง


Q : อาคารจอดรถในแนวสายทาง ?
A : 1. อาคารจอดรถ (Park and Ride) สถานีคลองบ้านม้า จอดรถยนต์ได้ประมาณ 1,200 คัน
      2.  อาคารจอดรถ (Park and Ride) สถานีมีนบุรี (เป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพูกับสีส้ม)          จอดรถยนต์ได้ประมาณ 3,000 คัน




Q : สถานีอะไรบ้าง ?
A : 1. สถานีตลิ่งชัน ตั้งอยู่ใต้สถานีรถไฟตลิ่งชัน
         เชื่อมต่อกับ : โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง (สถานีตลิ่งชัน)

     2. สถานีบางขุนนนท์ ตั้งอยู่ใต้ถนนเลียบทางรถไฟ บริเวณตัดกับถนนจรัญสนิทวงศ์
        เชื่อมต่อกับ : โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ (สถานีบางขุนนนท์)

     3. สถานีศิริราช ตั้งอยู่ใต้สะพานอรุณอัมรินทร์ บริเวณใกล้โรงพยาบาลศิริราช
        
     4. สถานีสนามหลวง ตั้งอยู่ใต้ถนนราชินี บริเวณด้านหน้าโรงละครแห่งชาติ

     5. สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ตั้งอยู่ใต้ถนนราชดำเนินกลาง บริเวณด้านตะวันออกของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ด้านหน้าลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์
          เชื่อมต่อกับ : โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ – ราษฎร์บูรณะ (สถานีผ่านฟ้า)

      6. สถานีหลานหลวง ตั้งอยู่ใต้ถนนหลานหลวง บริเวณแยกหลานหลวง ถึงสามแยกถนนพะเนียง

      7. สถานียมราช ตั้งอยู่ใต้ถนนหลานหลวง บริเวณด้านหน้าบ้านมนังคศิลา
          เชื่อมต่อกับ : รถไฟชานเมืองสายสีแดง

      8. สถานีราชเทวี ตั้งอยู่ถนนเพชรบุรี บริเวณซอยเพชรบุรี 3 – 7 ก่อนขึ้นสะพานข้ามแยกราชเทวี
          เชื่อมต่อกับ : รถไฟฟ้า BTS (สถานีราชเทวี)

      9. สถานีประตูน้ำ ตั้งอยู่ใต้ถนนเพชรบุรี บริเวณหน้าห้างพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า

     10. สถานีราชปรารภ ตั้งอยู่ใต้ถนนราชปรารภบริเวณด้านหน้าห้างอินทรา สแควร์
           เชื่อมต่อกับ : โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ (สถานีราชปรารภ)

     11. สถานีรางน้ำ  ตั้งอยู่ใต้ถนนราชปรารภ บริเวณด้านหน้าปากซอยรางน้ำตัดกับถนนราชปรารภ

     12. สถานีดินแดง ตั้งอยู่ใต้ถนนวิภาวดีรังสิตฝั่งขาเข้า บริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร2 (ดินแดง)

     13. สถานีประชาสงเคราะห์ ตั้งอยู่ใต้พื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาดรุณพิทยาหรือโรงเรียนดรุณพิทยา (ปัจจุบันปิดดำเนินการแล้ว)

     14. สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ใกล้ถนนรัชดาภิเษกบริเวณด้านหน้าห้างเอสพลานาด รัชดา
           เชื่อมต่อกับ : รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย)

     15. สถานี รฟม. ตั้งอยู่ใต้พื้นที่ของ รฟม. บริเวณประตูถนนพระราม 9

     16. สถานีประดิษฐ์มนูธรรม ตั้งอยู่ใต้ถนนพระราม 9 บริเวณใกล้สี่แยกพระราม 9 - ประดิษฐ์มนูธรรม หน้าปากซอยเข้าวัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก

     17. สถานีรามคำแหง 12 ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณด้านหน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขารามคำแหง

     18. สถานีรามคำแหง ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหงบริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง

     19. สถานีราชมังคลา ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหงบริเวณด้านหน้าสนามกีฬาหัวหมาก (ราชมังคลา)

     20. สถานีหัวหมาก ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลรามคำแหง

     21. สถานีลำสาลี ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณด้านใต้แยกลำสาลี
           เชื่อมต่อกับ : โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง (สถานีลำสาลี) 

     22. สถานีศรีบูรพา ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณสามแยกถนนรามคำแหงตัดถนนศรีบูรพาหรือด้านหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3

     23. สถานีคลองบ้านม้า ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณระหว่างซอยรามคำแหง 92-94
           เชื่อมต่อกับ : อาคารจอดแล้วจร (Park and Ride) ฝั่งขาเข้าติดกับสถานี จอดรถยนต์ได้ประมาณ 1,200 คัน

     24. สถานีสัมมากร ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณใกล้หมู่บ้านสัมมากร

     25. สถานีน้อมเกล้า ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณห้านหน้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

     26. สถานีราษฎร์พัฒนา ตั้งอยู่บนแถนนรามคำแหง บริเวณสามแยกถนนรามคำแหง – ราษฎร์พัฒนา ด้านหน้าสำนักงานใหญ่บริษัทมิสทีน

     27. สถานีมีนพัฒนา ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณด้านหน้าทางเข้าวัดบางเพ็ญใต้ ตรงข้ามนิคมอุตสาหกรรมบางชัน


     28.  สถานีเคหะรามคำแหง ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณด้านหน้าปากซอยรามคำแหง 184 ใกล้เคหะรามคำแหง

     29. สถานีมีนบุรี ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณสะพานข้ามคลองสองต้นนุ่น
           เชื่อมต่อกับ
: โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี (สถานีมีนบุรี)

     30. สถานีสุวินทวงศ์ ตั้งอยู่ริมถนนรามคำแหงด้านทิศใต้ บริเวณใกล้ทางแยกสุวินทวงศ์

Q : สามารถหาเอกสารการทำประชาพิจารณ์ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้จากไหน
A : ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิง๕ืดังกล่าว เว็บไซต์โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ